หัวข้อ   “ความเห็นประชาชนต่อการเมืองไทยในช่วงตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลและฝ่ายความ
มั่นคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้รุนแรงบานปลายได้
แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารแม้เหตุการณ์ความขัดแย้งจะรุนแรงบานปลายถึงขั้นนองเลือด โดยสิ่งที่ต้องการเห็น
มากที่สุดหลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ คือการที่คนไทยเลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ยุติบทบาทแทรกแซงการเมือง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงในการควบคุมสถานการณ์ช่วงก่อนและหลังการ
                 ตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้รุนแรงบานปลาย

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
( โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 11.3 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 32.5 )
43.8
ไม่เชื่อมั่น
( โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 17.5 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 38.7 )
56.2
 
 
             2. ความเห็นต่อทางออกโดยการทำรัฐประหาร ในกรณีที่เหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรง
                 บานปลายถึงขั้นนองเลือด


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
15.1
ไม่เห็นด้วย
64.4
ไม่แน่ใจ/ไม่แสดงความเห็น
20.5
 
 
             3. สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุด (5 อันดับแรก) หากมีเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงตัดสินคดียึดทรัพย์
                 76,000 ล้านของ พ.ต.ท. ทักษิณ


 
ร้อยละ
อันดับ 1 ห่วงความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน
34.1
อันดับ 2 ห่วงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว
23.5
อันดับ 3 ห่วงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
20.7
อันดับ 4 ห่วงภาพลักษณ์ของประเทศไทย
10.9
อันดับ 5 ห่วงการเผชิญหน้าและการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่
8.8
 
 
             4. สิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุด หลังการตัดสินคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ในวันที่
                 26 กุมภาพันธ์ คือ


 
ร้อยละ
คนไทยเลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยุติบทบาท
แทรกแซงทางการเมือง
43.4
ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
30.7
พ.ต.ท. ทักษิณ ยอมรับในคำตัดสินของศาลและกลุ่มเสื้อแดง
สลายการชุมนุม
25.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
25 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน
ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง
พระนคร ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สายไหม และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด
ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)
จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,250 คน เป็นชายร้อยละ 48.3
และหญิงร้อยละ 51.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 17 - 19 กุมภาพันธ์ 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 กุมภาพันธ์ 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
604
48.3
             หญิง
646
51.7
รวม
1,250
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
313
25.0
             26 – 35 ปี
325
26.0
             36 – 45 ปี
292
23.4
             46 ปีขึ้นไป
320
25.6
รวม
1,250
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
691
55.3
             ปริญญาตรี
509
40.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
50
4.0
รวม
1,250
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
96
7.7
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
410
32.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
359
28.7
             รับจ้างทั่วไป
170
13.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
80
6.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา
135
10.8
รวม
1,250
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776